มีแต่ได้ โดย ใบไผ่เขียว
เล่มนี้เป็นสายขาวมาก เมื่อเทียบกับเล่มอื่นในซีรี่ย์ของใบไผ่เขียว ที่ปกติแล้วจะเน้นเล่ห์เหลี่ยม และ การเฉือนคม ในชีวิตประจำวัน
ประหนึ่งหนังสือที่สอนเอาตัวรอดในยุคสามก๊กเลยก็ว่าได้
ผมชอบเล่มนี้มากที่ช่วยให้เราคิดและวางแผนให้รอบด้านโดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดกับบุคคลอื่น
ยกตัวอย่างเช่น ในเล่มเขาพูดถึงประธานบริษัทหนึ่งที่อยากจะบริจาคอุปกรณ์การเรียนให้กับชุมชนที่อยู่ห่างไกล
เรื่องเริ่มต้นด้วยการเขากำหนดวงเงินมาจำนวนหนึ่งที่ตั้งใจจะมอบให้ชุมชนนั้น จากนั้นก็สร้างงบประมาณขึ้นมาเบิกจากบริษัทเป็นการเดินทาง เพราะ อยากจะไป on site visit
ผลลัพธ์มีเกิดขึ้นตามมา คือ แทนที่จะได้บริจาคเงินกลับสร้างภาระขึ้นมาแทน
แทนที่จะได้บริจาคเงินไปให้ทางชุมชนใช้จ่าย กลับต้องเบิกเงินค่าเดินทางมีต้นทุนเพิ่ม สร้างขยะระหว่างเดือนทางทำให้ชุมชนเดือดร้อน
แถมต้องให้คนในชุมชนเหนื่อยเพิ่มเติมกับการเตรียมตัวต้อนรับอีก
การกระทำแบบนี้แม้จะมีจุดเริ่มต้นที่ดี แต่จะดีกว่าไหมถ้าจะแค่โอนเงินไปให้ชุมชนนั้นไปจัดการกันเอาเอง เพื่อหลีกเลี่ยงขยะ ภาระ และ เวลาพักผ่อน ของชุมชน
ส่วนที่ผมชอบมากในเล่ม คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับ การมีอารมณ์ขัน
เรื่องราวที่ว่าที่ช่วยให้เห็นชัดจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ทหารเยอรมัน และ ทหารสวิต ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวลี้ภัยไปสวิตเป็นจำนวนมาก
ซึ่งทางทหารเยอรมันไม่สามารถทำอะไรต่อได้เลย จึงได้ยั่วโมโหทหารสวิตด้วยการ ส่งอุจาระม้าไปเป็นของขวัญให้ชาวสวิต
ความพีคอยู่ตรงนี้ละทหารสวิตส่งของขวัญกลับมาเป็นช็อคโกแลตอย่างดีแถมจดหมายที่มีข้อความทำนองว่า
ขอทำเหมือนที่ท่านทำกับเรา คือ ส่งสิ่งที่ดีที่สุดให้อีกฝ่ายเป็นของขวัญ
แบบ โอ้โหยย เจ็บจิ๊ดดดดด
การส่งจดหมายนี้แปลว่า อุจาระม้า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของทหารเยอรมันเป็นการตอบรับที่เจ็บแสดสุดละ
ถ้าทหารเยอรมันเขาละอายก็คงไม่ระรานต่อ แต่ถ้าเกิดต้องทำสงครามประสาทกันต่อก็คงปริ๊ดหนักกว่าทหารสวิตแหละ
เรื่องราวในเล่มก็จะประมาณนี้ เป็นการพลิกสถานการณ์จากร้ายให้เป็นดีด้วยวิธีการต่างๆ ที่แม้ไม่ได้จะมาเป็นบทเรียน
เป็น bullet point แต่ด้วยเรื่องราวในเล่ม ผมเชื่อว่าจะทำให้เราไปต่อยอดได้เยอะเลย
ขอจบด้วยอีกเรื่องละกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับโรงงานแห่งหนึ่งที่กำลังจะถึงตรุษจีน ตามธรรมเนียมเนี่ย เขาจะต้องจ่ายโบนัส 2 เดือน
แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ปีนี้ จ่ายได้แค่ 1 เดือน ในเล่มเขาก็เสนอวิธีการโดยการบิดเบือนสถานการณ์
เริ่มต้นด้วยการปล่อยข่าวว่า ผลประกอบการไม่ดีอาจจะต้องมีการปลดพนักงาน
เมื่อพนักงานเริ่มหวั่นกันก็ปล่อยข่าวเพิ่มว่าอาจไม่ต้องปลดแล้ว เพราะ เอากำไรบริษัทไปจุนเจือส่วนที่ขาด
จากนั้นปล่อยข่าวสุดท้ายว่าจะมีโบนัสให้คนละ 1 เดือน
จะสังเกตว่าวิธีการนี้เป็นการบริหารอารมณ์ของพนักงานได้ดีมาก
โดยทำให้เขาพร้อมที่จะรับข่าว ซึ่งน่าสนใจมาก
บางคนอาจบอกว่า เล่นโกหก tricky ใส่พนักงานแบบนี้เรียกว่าดีเหรอ เรื่องนี้เป็นศิลปะที่เราควรศึกษาครับ
เพราะ บางครั้งการจริงใจ อาจให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามไปค่อนข้างแย่มากกว่าการทำอะไรแบบนี้
ถ้าต้องสรุปในเล่มให้เป็นประโยคสั้นๆ
ผมขออนุญาตว่า เป็นคนช่างสังเกต และ เคารพผู้อื่น แล้วกันครับ
บางครั้งสิ่งที่เราทำ คนอื่นอาจไม่สามารถเข้าใจได้ หรือ แปลความหมายได้ แต่ถ้ามันเป็นการกระทำ
หรือ เจตนาดี เดียวเขาจะเข้าใจในที่สุดเองครับ
ถ้าในปัจจุบันมันก็จะเป็นแนว เรื่องติให้พูดในที่ลับ
เรื่องคำชมให้พูดในที่แจ้ง อะไรประมาณนั้น
ถ้ามีโอกาสอยากให้ลองอ่านกันดูครับผม