เล่าเรื่องยังไงให้คนอยากฟัง เหมือนพี่โน็ต อุดม

เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมนักพูดอย่าง พี่โน๊ต อุดม สามารถทำให้คนหัวเราะได้แบบสุดๆ เราจะเล่าเรื่องยังไงให้คนอยากฟังและน่าติดตาม

 

เมื่อเราเล่าเรื่องได้ดี เราก็จะสามารถสะกดใจผู้ฟัง

 

ผมได้ไปฟังพี่ อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการบริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จํากัด พูดถึงศิลปะการเล่าเรื่อง

พี่อภิวุฒิบอกว่า ในการเล่าเรื่องสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราจะต้องทำให้คนที่เราสื่อสารด้วยทำในสิ่งที่เราต้องการ แต่ก่อนเขาทำในสิ่งที่เราต้องการ เขาจะต้องสามารถจำเรื่องที่เราเล่าได้ก่อน

 

พี่อภิวุฒิให้ตัวอย่างว่าทำไมเราถึงจำเนื้อเรื่องซินเดอเรลล่าได้ ถึงแม้ว่าเราจะได้ยินมันมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว กว่า 20 ปีหรือ 30 ปีหลังจากนั้นมา เราก็ยังจำได้อยู่…มันคือศิลปะการเล่าเรื่อง! ถ้าเราสามารถจำเรื่องที่คนเล่าได้ เราก็จะสามารถทำในสิ่งนั้นได้

 

เราบางเรื่องที่พี่โน็ต อุดมเล่า ผมยังจำได้ถึงปัจจุบันเลย เช่น กางกางในเข้าวิน มันเป็นเรื่องที่โดนเราแบบสุดๆ

พี่อภิวุฒิแชร์ว่า สมัยตอนที่ทำงานใหม่ๆ ที่ทำเกี่ยวกับจ้างวิทยากรมาพูด พี่เค้าสังเกตว่า วิทยากรที่มีเคสหรือมีเรื่องเล่ามาเล่า มาแชร์ จะมีคะแนนการประเมินที่สูงกว่าคนที่ไม่มี เพราะฉะนั้นสิ่งที่หัวหน้าหรือคนทำงานจะต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ก็คือ ศิลปะของการเล่าเรื่อง

 

การเล่าเรื่อง มันจะออกมาจากประสบการณ์ของเรา แล้วพอคนจำได้ คนก็จะทำมัน

 

แล้วเราจะฝึกการเล่าเรื่องอย่างไร?

 

พี่อภิวุฒิบอกว่าง่ายมากเลย…ถ้าเราสามารถนินทาเป็น เราก็สามารถเล่าเรื่องได้

 

เคยสังเกตมั้ยครับว่าเราไปตอนกินข้าวกับเพื่อน ทำไมเราถึงคุยได้นานสองนาน ก็เพราะว่าเราคุยเกี่ยวกับเรื่องของคนอื่นไง…คุยว่าใครทำอะไรกับใคร จริงๆแล้วมันก็คือ เรากำลังนินทาคนอื่นอยู่หรือเรียกอีกอย่างว่า…การเล่าเรื่อง

 

จริงๆการเล่าเรื่องเกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอริสโตเติ้ล อริสโตเติ้ลเป็นครูของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

 

เขาบอกว่าเรื่องที่สนุกจะต้องมี Plot หรือ เค้าโครงเรื่อง

 

ซึ่ง Plot หรือ เค้าโครงเรื่อง แบ่งออกเป็น 4 ร.

  • ระทม (Suffering) เช่น เกิดขึ้นมาก็แย่ละ เกิดขึ้นมาก็ไม่มีแขนไม่มีขา พิการ

  • รันทด (Struggling) คือเกิดมาพิการแล้ว…รันทด ต่อไปอีก คือ ทำธุรกิจเจ๊ง คนโกง โดนคนขโมย ต้มตุ่นอีก

  • ระทึก (Turning) เช่น มีเหตุการณ์อะไร ที่ทำให้เราระทึกหลังจากโดนคนโกง ทำธุรกิจเจ๊ง มีเรื่องระทึกอีก ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเกือบได้เงินคืนกลับมาจากคนโกง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้คืน

  • รอดทุกข์ (Happy ending) คือ จบแบบมีความสุข จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง เช่น ได้แต่งงานกับเจ้าหญิง และอยู่กันนานมีความสุข ได้เงินคืนมาทั้งหมดและอยู่กับครอบครัวพร้อมหน้า

ระทมกับรันทด จะทำให้คนตื่นเต้นเท่านั้นแหละ แต่งจริงๆแล้วมันไม่มีประโยชน์กับคนฟังเลย

 

ลองสังเกตว่า 8/10 ของหนังไทยจะมีเค้าโครงเรื่อง แบบนี้หมดเลย เช่น แม่ปลาบู่ ดาวพระศุกร์ บ้านทรายทอง ชีวิตจะระทม รันทด ระทึก

 

พี่อภิวุฒิบอกว่า มนุษย์ไม่ชอบฟังความสำเร็จของคนอื่นนานๆ แต่ชอบลุ้นระทึกมากกว่าว่าตัวละครมันจะสามารถรอดไปได้หรือเปล่า

 

ถ้าเราแกะเนื้อเรื่องต่างๆออกมา เนื้อเรื่องจะเป็น ระทม 30% รันทด 30% ระทึกอีก 30% แล้วก็สุดท้ายรอดทุกข์ 10% สังเกตมั้ยครับว่า ระทม รันทด ระทึก จะใช้เวลาในการเล่าค่อนข้างเยอะ แล้วก็ตัวสุดท้ายคคือ รอดทุกข์ แฮปปี้เอนดิ้ง ใช้เวลาแค่นิดเดียว

 

เรื่องเล่าที่ดี ต้อง T.I.P.S

 

สุดท้ายครับพี่อภิวุฒิให้เทคนิคในการเล่าเรื่อง ซึ่งแบ่งโครงสร้างของการเล่าเรื่องเป็น 4 องค์ประกอบ คือ T.I.P.S

 

T ime คือ เวลา

I ncidient คือ เหตุการณ์

P eople คือ ตัวละคร

S urprise คือ จุดหักมุม

 

ยกตัวอย่างเช่น คืนที่แล้ว เป้ไปซื้อกับข้าว แล้วก็มีคนมารับ อันนี้มันก็แค่ เวลา เหตุการณ์ ตัวละคร…จบน่าเบื่อใช่ไหมครับ

 

เพราะเรื่องนั้น ไม่มีจุดหักมุม เราลองเปลี่ยนเรื่องด้านบนให้มีจุดหักมุมดูนะครับ

 

ทันใดนั้น มีรถมารับเต้ เป็นรถลิมูซีนสีดำ คันยาว 18 ประตู เปิดเพลงร็อกดังมากๆ จนทุกคนหันมามองแล้วข้างในรถลิมูซีน มีสาวๆประมาณ 10 คน แต่งตัวสวยมาก เดินออกมาต้อนรับเต้ แต่สุดท้าย เต้บอกกับสาวๆทั้ง 10 คนนั้นว่า ฉันกำลังไปหาผัวฉันค่าาาา

 

เป็นไงครับ หักมุมไหม?

 

สรุป:

  • การเล่าเรื่องต้องทำให้คนอื่นจำได้ และสุดท้ายเมื่อเขาจำได้ เขาจะทำมัน

  • การเล่าเรื่องให้สนุกต้องมี Plot หรือ เค้าโครงเรื่อง แบ่งออกเป็น 4 ร. คือ ระทม รันทด ระทึก และรอดทุกข์

  • เรื่องเล่าที่ดี ต้อง T.I.P.S มีองค์ประกอบของ เวลา เหตุการณ์ ตัวละครและจุดหักมุม จะทำให้เรื่องราวสนุก

  • ในฐานะเป็นผู้บริหาร หัวหน้าทีม ต้องเล่าเรื่องให้มันน่าจดจำเพราะคนจำได้ ก็ไปทำต่อได้ อินกับเนื้อเรื่อง จำได้ บางคนจำได้ไปตลอดชีวิตเลย

  • การเล่าเรื่องที่ดี คือ การเล่าเรื่องให้คนจำได้ โดยมีองค์ประกอบ 4 ร. + ต้อง T.I.P.S

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *