เชื่อว่าทุกวันนี้เราทุกคนต่างก็เจอกับปัญหาต่างๆ มากมายรอบตัว ที่พยายามแก้ไขเท่าไรมันก็ไม่หมดซะที และไหลเข้ามาเรื่อยๆ เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นได้ แล้วทำไมมันถึงแก้ได้ยากเหลือเกิน
ก่อนอื่น ต้องบอกว่าปัญหาในปัจจุบันหลายๆ อย่างที่เราเจอมีลักษณะเป็น “Complex Problem” ซึ่งแตกต่างจาก Problem ธรรมดา ถ้าพวกเราลองนึกย้อนถึงสมัยเราเรียนมัธยม หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย เราจะเจอโจทย์ปัญหาในข้อสอบ หรือ Problem เป็นปกติ แต่เราก็สามารถแก้โจทย์เหล่านั้นได้ ด้วยวิธีการที่แน่นอน [ถ้าเราเตรียมตัวอ่านหนังสือมาดีนะครับ :)]
แต่ในชีวิตจริง ปัญหาต่างๆ มันไม่ได้มีสูตรตายตัวที่สามารถแก้ได้ มันจึงมีความ Complex หรือซับซ้อน เพราะว่า
-
มีตัวแปร หรือปัจจัยหลายปัจจัยมาสัมพันธ์กันแบบซับซ้อน
-
มีปัจจัยที่ไม่แน่นอน หรือคาดเดาไม่ได้มาเกี่ยวข้อง เช่น COVID, การพัฒนาของเทคโนโลยี
ตัวอย่างของ Complex Problem เช่น การแก้ปัญหายากจน การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีปัจจัยหลายๆ อย่างซ้อนทับกัน และไม่สามารถมีสูตรสำเร็จที่แก้ได้ง่ายๆ
แล้วเราจะแก้ปัญหาในลักษณะนี้อย่างไรดีล่ะ? ในเชิงทฤษฎีนั้นมีแนวทางของ Complex Problem Solving หลายรูปแบบ แต่สามารถสรุปได้ดังนี้
-
เราต้องมองให้เห็นเงื่อนไขต่างๆ ของสถานการณ์ ว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบปัญหานี้คืออะไรบ้าง เช่น ถ้าเราจะวางแผนธุรกิจของเราใน 3 ปีข้างหน้า เราอาจต้องคิดว่า มีปัจจัยอะไรเกี่ยวบ้าง เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามา นโยบายภาครัฐ เป็นต้น
-
การร่วมกันคิดหาทางออกด้วยคนที่หลากหลาย ไม่ใช่ด้วยคนเดียว หรือคนกลุ่มเดียว เช่น ต้องให้หลายๆ แผนกในบริษัท มาช่วยกันระดมสมองหาไอเดีย
-
การคิดถึงสถานการณ์ หรือ Scenario ที่น่าจะเป็นไปได้ที่มากกว่า 1 อย่าง และแต่ละ case จะรับมืออย่างไรได้บ้าง
-
ลงมือทำ โดยเป็นการ trial and error คือลองทำ แล้วติดตามดูผลลัพธ์ เพราะการแก้ Complex problem ไม่มีสูตรตายตัว เราต้องลองทำและติดตามประเมินผลว่าสิ่งที่เราคิด มันถูกต้องไหม
สุดท้ายเราต้องตระหนักไว้ว่า solution ของ complex problem มันไม่มีทางสมบูรณ์และไม่มีทางถูกใจทุกคน