รีวิวหนังสือ Market Wizard : Interview with TOP Traders

การได้อ่านบทสัมภาษณ์จาก trader ที่มีชื่อเสียงหลายคน ทำให้รู้สึกมีความหวังกับเส้นทางการลงทุนเยอะขึ้นมากเลย โดยส่วนมากแล้วผู้ให้สัมภาษณ์ในเล่มจะแนะนำเหมือนๆ กันกับที่มีแนะนำตามทั่วไป นั่นคือ

1 มีจุด stop loss 2 เทรดตามแนวโน้ม 3 มีแผนการเทรดที่ชัดเจน 4 อย่าถัวเฉลี่ยออเดอร์ที่ขาดทุน 5 ไม่ใช้อารมณ์โดยเฉพาะการอยากล้างแค้น 6 ทำตามแผน

ความดีงามของเล่มนี้ อยู่ตรงการเอาหลักการข้างต้นมาถ่ายทอดให้เป็นประโยคที่ช่วยให้เราซึมซับได้ง่ายขึ้น

“รอจนกว่าการเทรดที่ใช่จะผ่านเข้ามา อย่าเทรดเพียงเพื่อให้ได้เทรด จงอดทนที่จะนั่งถือเงินของคุณเอาไว้จนกว่าจะมีการเทรดที่มีความน่าจะเป็นสูงเกิดขึ้นมาอย่างถูกต้องเหมาะสมเสียก่อน”

>> เรื่องการทำตามแผน

“ผมไม่เคยยอมให้ตัวเองต้องติดอยู่ในภาวะที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดหายนะ”

>> มีจุด stop loss

“หนึ่งในพฤติกรรมแบบฆ่าตัวตายที่คุณสามารถทำได้ในการเทรดก็คือการซื้อเฉลี่ยสถานะที่ขาดทุน”

>> อย่าถัวเฉลี่ยออเดอร์ที่ขาดทุน

“ถ้าคุณคิดถูกตลาดก็ไม่ควรลงไปถึงตรงนั้น”

>> มีจุด stop loss

“ถ้าผมถูก ตลาดไม่ควรจะกลับมาถึงกรอบราคาเดิมด้านบนอีก นั่นคือ จุดตัดขาดทุนของผม ผมนอนหลับสบายดีหลังการเทรดนั้น เพราะ ผมรู้ว่าผมจะออกจากการเทรดไปถ้ามันเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นมา”

>> มีจุด stop loss

“มือใหม่มักผิดพลาดที่มองตลาดเป็นเรื่องส่วนตัว ความผิดพลาดที่เจอบ่อยๆ คือ การมองตลาดเป็นการลงทัณฑ์ส่วนตัว แน่นอนที่สุดว่าตลาดไม่มีเรื่องส่วนตัวใดๆ เลย มันไม่สนใจว่าคุณทำเงินได้หรือไม่”

>>> ไม่ใช้อารมณ์ในการเทรด

“เมื่อคุณเจอการขาดทุนที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นคงให้ออกไปซะ กลับบ้านแล้วนอนพัก ทำอะไรอย่างอื่น แต่ให้ทิ้งระยะจากตอนนั้นและการตัดสินใจในการเทรดครั้งต่อไป เมื่อคุณถูกทุบอย่างหนักให้เอาหัวของคุณออกมาก่อน”

>>> ไม่ใช้อารมณ์ในการเทรด

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าสิ่งที่บรรดา Top Trader จะให้สัมภาษณ์จะไม่หนีไปจากคำแนะนำทั้ง 6 ข้อข้างต้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่เจ๋งในเล่ม คือ การทำให้เราได้สัมผัส ได้รู้ ว่าพวกเขาเองก็ล้วนเป็นมนุษย์เหมือนเรานิแหละ แต่ละคนล้วนเคยทำผิดพลาดเหมือนเรา เทรดขาดทุนเหมือนเรามาก่อน การได้อ่านเรื่องราวของพวกเขาเกี่ยวกับตอนที่พวกเขาเล่าให้ฟังว่าทำผิดพลาดมาอย่างไรบ้าง ทำให้เรามีความหวังเพิ่มขึ้นว่าสักวันเราจะเป็น Trade ที่ทำกำไรได้สม่ำเสมอเหมือนกับพวกเขาบ้าง

 

“Marty Schwartz ใช้เวลาเกือบ 1 ทศวรรษไปกับการเสียเงินจากการเทรดของเขาก่อนที่เขาจะก้าวข้ามขึ้นมาเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพที่ประสบความสำเร็จอย่างไม่ธรรมดา”

 

ในเล่มอ่านแล้วจะสังเกตได้ว่ามันเป็น pattern ที่เหมือนๆ กัน นั่นคือ เริ่มต้นอาชีพการเทรดด้วยการขาดทุนต่อเนื่องติดต่อกัน ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาบางคนหมดตัวไม่ใช่แค่ครั้งเดียวแต่เป็นถึงหลายต่อหลายครั้ง แต่ในท้ายที่สุดพวกเขาก็สามารถ come back ได้ >> สิ่งสอนใจก็คือ ทุกๆ การเทรดที่ล้มเหลวเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังทำบางสิ่งที่ผิดพลาดอยู่ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะบอกคุณว่าคุณจะพบกับความล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด

 

มีประโยคหนึ่งในเล่มที่ผมชอบมากเป็นพิเศษ คือ “หนึ่งในความเย้ายวนของธุรกิจนี้ คือ ในบางครั้งคนที่โง่ที่สุดสามารถที่จะทำมันได้อย่างดีมาก ซึ่งมันเรื่องเป็นที่โชคร้าย เพราะ มันจะสร้างความฝังใจว่าคุณไม่จำเป็นที่จะต้องมีความเป็นมืออาชีพเพื่อที่จะทำมันให้ได้ดี และ นั่นจะเป็นกับดักที่ยิ่งใหญ่”

 

ประโยคนี้เราได้เห็นกันทั่วไปมากจากการที่มีเหล่าโค้ช forex เกิดขึ้นอย่างมากมายในสังคมเรา ทุกคนพยายามจะขายเราด้วย trade set up เทคนิค วิธีการต่างๆ ที่เราเองก็สงสัยว่านี่เขารวย เพราะ สิ่งที่เอามาขาย หรือ รวยจากการเทรดกันแน่ > มันเป็นคำถามพื้นฐานที่ง่ายมากๆ นั่นคือ ถ้ามันดีจริง เทรดได้กำไรจริง เขาจะเอามาขายทำไม double money ด้วยสิ่งเหล่านั้น อยู่เงียบๆ เขาก็สบายแล้ว

ถ้าเรามีประสบการณ์มาสักหน่อยการอ่านเล่มนี้จะทำให้เราได้สังเกตเห็นว่าในอดีตกับปัจจุบันการเทรดแทบไม่ได้เปลี่ยนไปเลย มีแค่วิธีการสื่อสารเท่านั้นแหละที่เปลี่ยนไป คิดดูกราฟและเทคนิคการเทรดมันคิดค้นเมื่อไหร่แล้วปัจจุบันผ่านไปกี่ปีแล้วมันมีอะไรใหม่เพิ่มขึ้นมาบ้างล่ะ ?

 

Elliot wave / แนวรับแนวต้าน / wyckoff pattern / Rsi บลาๆๆ ปัจจุบันมันไม่มี advantage เกี่ยวกับ knowledge gap แล้วทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ฟรีบนโลกออนไลน์กันหมดแล้ว ดังนั้น คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วอะไรเป็นคุณสมบัติที่แบ่งแยก trader

ที่ทำกำไร กับ trader ที่ขาดทุน !

 

ในเรื่องนี้ในเล่มก็มีคำแนะนำที่น่าสนใจด้วยนะ > คุณสามารถตีพิมพ์กฎการเทรดลงในหนังสือพิมพ์ได้เลย แต่จะไม่มีใครสักคนที่จะทำตามมันได้ กุญแจสำคัญ คือ ความสม่ำเสมอและวินัย

 

ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าสิ่งที่เราควรต้องมองแยกให้ออก คือ การแยกการเทรดที่ดีออกจากการเทรดที่แย่ ฟังดูง่ายนะแต่สาเหตุที่มันยาก เพราะ บางครั้งการเทรดที่ดีไม่ได้ทำให้คุณได้เงิน ในขณะเดียวกันการเทรดที่แย่ทำให้คุณได้เงิน และ ถ้าคุณมองผลลัพธ์ระยะสั้นมันง่ายมากที่จะหลงเข้าใจผิดว่าการเทรดที่แย่ที่ได้เงิน คือ การเทรดที่ดี

 

คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วการทำเงินมันไม่ดีเหรอ เพื่อตอบคำถามนี้ ต้อง ref quote ที่ว่าอย่าไปใส่ใจมากนักกับกระบวนการ แต่ให้สนใจ result ดีกว่า ประโยคทำนองนี้ในโลกของการลงทุนถ้าคุณทำแบบนี้มันเหมือนเป็นการกรอกยาพิษให้ตัวเอง > คุณอาจโชคดีที่การเทรดที่แย่ของคุณทำเงินได้ แต่นั่นมันจะสร้างนิสัยแย่ๆ ให้คุณเช่นกัน นิสัยแย่ๆ ที่จะทำให้คุณขาดทุนครั้งใจจนอาจถึงขั้นเริ่มต้นใหม่ไม่ได้

บรรดา Top Trader ล้วนแนะนำเหมือนกัน คือ ให้เราทำบันทึกการเทรด แล้วกลับมารีวิวบันทึกนั้นอย่างสม่ำเสมอ เนื้อหาสาระในบันทึกควรจะทำให้เราได้เห็นว่าตอนนั้นเราคิดอะไร มีกระบวนการตัดสินใจแบบไหน เพื่อที่เราจะได้สามารถ replicate มันได้ถ้ามันสำเร็จ และ สามารถหาทางพัฒนาปรับปรุงมันได้ถ้ามันล้มเหลว

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

“มันอาจจะขึ้นไปต่อได้อีกสักหนึ่งวัน แต่นั่นก็คือประมาณราคาที่สูงที่สุดของมันแล้ว เมื่อไรก็ตามที่ราคามันเริ่มตกลงมาผมก็ไม่มีทางที่จะสามารถปิดสถานะขนาดใหญ่แบบที่ผมมีในตอนนั้นออกมาได้เลย”

 

ความเชื่อทำนองว่าขายที่ราคาสูงสุด และ ซื้อที่ราคาต่ำสุด เป็นเหมือนตำนานที่หลายคนอยากทำให้ได้ แต่ถ้าเราพิจารณาต้นทุนที่จะทำแบบนั้นให้ได้ เพียงเพื่อได้พูดว่าได้ซื้อที่จุดต่ำสุด และ ขายที่จุดสูงสุด จะเห็นว่ามันไม่คุ้มเอาเสียเลย สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ right timing มากกว่า

 

เรื่องนี้หนีไม่พ้นเรื่อง position sizing หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าหากอยากขายหุ้นทั้งหมดของตนที่ราคาไหนที่แสดงอยู่ในตลาดแปลว่าเขาจะสามารถขายได้ในราคานั้นเลย ซึ่งนี่เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเอามากๆ เพราะ ตลาดเกิดจากการมีคนที่อยากซื้อและคนที่อยากขายมาเจอกัน

 

ดังนั้น ในบางจุด คำว่าสภาพคล่องสำคัญมาก

 

การได้เห็นราคาหุ้นวิ่งสูงขึ้นไปอีก หลังจากที่ขายไปหมดแล้ว > เราลองคิดดูว่าถ้าเรายังไม่ขายหุ้นจริงๆ แต่เก็บมาขายวันต่อไป หรือ ในอนาคต เราจะแน่ใจได้ยังไงว่ามันจะยังไม่ขึ้นอีก หรือ ถ้าเกิดเราอยากจะ exit ออกจากตลาดด้วย position size ที่ใหญ่ของตัวเอง มั่นใจได้ไหมว่าจะออกจากตลาดได้ด้วยราคานั้น ?

 

นี่ยังไม่นับรวมเรื่องความผันผวนของตลาดอีกนะ !

“ตลาดสามารถขึ้นไปได้สูงกว่าที่เราคิด และ มันก็จะสามารถลงไปต่ำกว่าที่คิดว่ามันน่าจะเป็น”

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

อีกเรื่องที่ไม่ mention ถึงคงไม่ได้ นั่นคือ เรื่องของการ stop loss ในเล่มได้มอบไอเดียในการตั้ง stop ได้ดีมากๆ ส่วนตัวทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง trade set up ที่ดีเยอะขึ้นมากๆ

 

“ยิ่งรูปแบบราคาถูกสังเกตโดยนักเก็งกำไรมากเท่าไหร่ มันก็มีโอกาสที่จะเป็นสัญญาณหลอกมากขึ้นเท่านั้น และถ้าตลาดไม่อยู่ในภาวะที่มีการเก็งกำไรสูงก็ยิ่งเพิ่มนัยสำคัญให้กับการทะลุราคาทางเทคนิคมากขึ้น”

 

“ถ้าจุดตัดขาดทุนที่มีนัยสำคัญอาจทำให้เกิดการขาดทุนต่อเนื่องที่มากจนไม่สบายใจก็ควรเทรดด้วยจำนวนที่น้อยลง”

 

“ผมวางจุดตัดขาดทุนไว้ในจุดที่ไกล และ ยากเกินกว่าที่จะไปถึงได้โดยง่าย”

 

“ผมขาดทุนซ้ำๆ อย่างไม่จำเป็น”

 

“ในโลกความเป็นจริงแล้วมันจะไม่ค่อยฉลาดนักที่จะวางจุดตัดขาดทุนไว้ในตำแหน่งที่คนอื่นๆ ทุกคนก็วางไว้ตรงนั้นด้วยเช่นกัน”

 

พออ่านประโยคพวกนี้แล้วทำให้เรารู้สึกว่า อย่าเทรดเพียงเพื่อให้ได้เทรด อย่าทำให้การเทรดกลายเป็นการพนัน การเล่นสนุก เราควรเฝ้ารอ trade set up ที่ดีเกิดขึ้น จากนั้นค่อยพิจารณาว่าจะเทรดมั้ย อย่าบังคับตัวเองให้เทรดด้วยตัวเลือกที่ไม่ดีตั้งแต่แรก จำไว้ว่าเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง > ถ้ามองการเทรดเหมือนการทำสัญญา เราไม่ควรตกลงกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรม สิ >> จะไปเทรดทำไมถ้า risk : reward ratio มัน negative

 

ปล เรารู้สึกว่าเล่มนี้แอบอ่านยาก รู้สึกว่าภาษาไทยที่ใช้ค่อนข้างแปลกๆ ในช่วง 1/3 แรกของเล่ม

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

Note

 

หนังสือต้องไปหาอ่านเพิ่ม Reminiscences of a Stock Operator : Edwin Lefebvre

อย่าหยุดนิ่งอยู่กับที่เมื่อคุณถูกจู่มโจม หนึ่งในยุทธวิธีในหนังสือคู่มือเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินก็คือเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือไม่ก็ถอย แต่อย่านั่งอยู่ักับที่ถ้าคุณกำลังถูกตีกระหน่ำอยู่ แม้แต่การถอยก็ถือเป็นการโจมตีได้เพราะอย่างน้อยคุณก็ยังได้ทำอะไรบางอย่าง มันก็เหมือนกับในตลาด

 

สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องรักษากระสุนปืนให้เพียงพอที่จะสู้กลับมาได้

อย่าเพิ่มขนาดสถานะของคุณจนกว่าคุณจะสามารถเพิ่มเงินทุนของคุณให้เป็น 2-3 เท่า ให้ได้เสียก่อน คนส่วนมากทำความผิดพลาดด้วยการเพิ่มเดิมพันของพวกเขาในทันทีที่พวกเขาเริ่มจะทำเงินได้ นั่นคือ วิธีที่จะทำให้คุณหมดตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

สิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป คือ เมื่อผู้คนเข้ามาในการเทรด พวกเขาจะนำปัญหาส่วนตัวของพวกเขาเข้ามาด้วย โดยธรรมชาติของมันแล้วตลาด คือ สถานที่ที่พวกเขาจะปลดปล่อยปัญหาของพวกเขาออกมาแต่มันไม่ได้เป็นสถานที่ที่จะแก้ปัญหาของพวกเขาได้ คนส่วนมากลงเอยด้วยการต้องออกจาตลาดไป แต่มีบางคนที่ตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการระบบเพื่อที่จะเทรดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้คนเหล่านี้จะสร้างวิธีการที่เป็นระบบขึ้นมาและมักจะลงเอยด้วยการย้ายปัญหาของพวกเขาจากการจัดการกับตลาดไปไว้ในการจัดการกับระบบแทน

เทรดเดอร์จำเป็นที่จะต้องยอมรับว่าการเทรดที่ดีจำนวนหนึ่งจะต้องออกมาเป็นการเทรดที่ขาดทุน ตราบเท่าที่กลยุทธ์ที่ได้กำไรยังคงถูกทำต่อไปตามแผนการ การเทรดที่ขาดทุนนั้นก็ไม่ได้หมายถึงความผิดพลาดในการเทรด

 

ความล้วเหลวของเทรดเดอร์ส่วนมากไม่ได้เกิดจากการเทรดที่พวกเขาทำเมื่อพวกเขาผิดแต่เป็นเพราะการเทรดที่พวกเขาไม่ได้ทำเมื่อพวกเขาถูกมากกว่า มันเป็นเรื่องที่พบได้ค่อนข้างบ่อยสำหรับเทรดเดอร์ที่จะเป็นฝ่ายถูกมากกว่า มันเป็นเรื่องที่พบได้ค่อนข้างบ่อยสำหรับเทรดเดอร์ที่จะเป็นฝ่ายถูกในทิศทางตลาดที่พวกเขาคิดแต่ล้มเหลวที่จะจัดการเปิดสถานะและทำกำไรจากการประเมินตลาดของพวกเขา

ความผันผวนและความเสี่ยงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

 

ใครอยากซื้อหนังสือเล่มนี้ ซื้อได้ที่นี้เลย >> https://shope.ee/3faNOD6sSv

 
 
 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *