ทำไมเราเลี้ยง PIG แต่กิน PORK
ประทับใจตลอดเลยกับผลงานการเขียนโดย คุณชัชพล เกียรติขจรธาดา
คือ ผมอ่านผลงานของเขาทุกครั้งแล้วมันจำได้ขึ้นใจตลอด
เนื่องจากเนื้อหาที่เขาใส่รายละเอียดมาค่อนข้างลึก แถมเรียบเรียงมาให้เราเข้าใจได้ง่ายอีกด้วย
เปิดด้วยชื่อหนังสือมาก่อนว่าทำไมเราเลี้ยง cow / pig แต่พอกินเราเรียกว่า beef / pork
คำตอบมันต้องบอกว่าเป็นการเพี้ยนของภาษามาที่สลับไปสลับมาระหว่าง ฝรั่งเศส และ อังกฤษ
ประกอบกับหน้าตาของอาหารมันเปลี่ยนไปไม่เหมือนตอนเลี้ยง
ให้เห็นภาพเราเลี้ยงไก่ เราก็กินไก่ทั้งตัว จะอยู่ในในเล้า หรือ บนโต๊ะอาหาร มันก็ยังคงรูปเดิม
แตกต่างจากวัว หรือ หมู ที่เราเปลี่ยนรูปร่าง หรือ กินเฉพาะส่วน ซึ่งมันมองยากกว่าไก่
หรือ อาจเป็นไปได้ว่าในภาษาฝรั่งเศสปลาใช้คำว่า poisson ซึ่งถ้าอยู่ในภาษาอังกฤษอาจจะเข้าใจผิดกันได้
แน่นอนว่าเรื่องราวในเล่มไม่ได้จบเพียงเท่านี้ แต่พาเราสนุกไปกับรากศัพท์ และ ประวัติศาสตร์ของภาษา
น่าสนใจมากที่มีความเป็นไปได้ว่าทุกภาษาทั่วโลกนั้นมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเดียวกัน
ซึ่งเขาก็ตั้งข้อสังเกตว่า มันยากมากเลยนะที่คำศัพท์บางคำมันใกล้กันจัง แถมมีรูปร่างประโยคที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย ( ไม่นับภาษาที่คิดค้นกันขึ้นมาใหม่นะ )
เช่นคำว่า ทนต์ ที่แปลว่า ฟันในภาษาไทย มันช่างบังเอิญจริงที่มีความหมายเดียวกับคำว่า ทูร (tooth) ที่แปลว่าฟันเหมือนกันในภาษาอังกฤษ
*ถ้าใครอยากดูลำดับคงามเพี้ยนของภาษาลองเปิดดูหน้า 56 ครับ
ความพีคในเล่ม คือ การโบท็อก (botox) ที่เราทำเพื่อความงามกันเนี่ยมีต้นกำเนิดมาจากไส้กรอก !!!
ในเล่มเขาเล่าว่าไส้กรอกในสมัยก่อนเนี่ยจะเป็นการเอาเศษเนื้อ
เศษเลือดโน่นนี่นั่น หรือ ส่วนเกิดมายำรวมกัน หมักเกลือ จากนั้นยัดลงในไส้หมูที่ล้างสะอาด (บ้างก็ไม่สะอาด)
ซึ่งอยู่ๆ มันก็มีวันนึงมีหลายคนอยู่ๆ ก็เกิดอาการชาจากใบหน้าจากนั้นลามไปทั้งตัว
สืบไปสืบมา ก็พบว่ามันมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Clostridium botulinum
จากนั้นอีกเกือบร้อยปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าแบคทีเรียตัวร้ายนี้สามารถทำให้ตายได้
ด้วยความที่พิษของ botulinum มีชื่อเรียกว่า botox ซึ่งมาจากคำว่า botulinum + toxic
ด้วยการค้นพบนี้ทำให้มีแนวคิดว่าเอ๊ะ ถ้ามันทำให้ร่างกายอ่อนแรงลงได้
งั้นเราน่าจะเอาไปรักษาโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกินไปได้นะ เช่น โรคตาเข ตาเหล่ หรือ โรคหนังตากระตุก นี่เองเลยเป็นเหตุผลว่าในยุคแรก botox ถึงใช้ในวงการ จักษุแพทย์
ซึ่งต่อมาเขาก็พบว่า คนไข้ แฮปปี้กันมาเนื่องจากมันช่วยให้รอยย่นบนหน้าผาก + ริ้วรอยหายไป + ตาสวยขึ้น แถมทำให้ดูเด็กลงด้วย
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งพิษที่กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนยินดีที่จะจ่ายกัน ซะงั้น !!!
อ่านจบผมนี่โครตว้าวเลย มากไปกว่านั้นนะ
เล่มนี้ทำให้รู้อีกว่า ทำไม Magazine แปลได้ทั้ง กระสุนปืน และ นิตยาสาร
General แปลได้ทั้งทั่วไป และ นายพล
Corn Beef มีคำว่า corn แต่ทำไมไม่มี corn *อ่านสปอยด้านล่าง
หลังจากอ่านเล่มนี้จบทำให้ผมได้กลับมาสังเกตสิ่งรอบตัวเลยว่าเอ๊ะ หลายอย่างมันมีประวัติยังไงบ้างนะ มีที่มาที่ไปยังไงบ้างนะ
ทำไมเราเรียกสิ่งนั้นว่าสิ่งนั้นนะ คือ อ่านจบแล้วเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และ ความสงสัยใคร่รู้เราได้อีกเยอะเลย
ถ้ามีลูก เล่มนี้จะเป็นหนึ่งเล่มที่อยากให้ลูกอ่านเลยแหละครับ
สุดท้ายจบด้วยเรื่อง liverpool และ ทำไมเราเรียกแฟน liverpool ว่า the kop !
ตอนแรกผมก็เฉยนะ จนนักเขียนเขาชี้ประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาว่า
ทำไมคำว่า liver ที่แปลว่าตับ ถึงไปอยู่ในชื่อเมืองได้แล้วมันรวมกันกับคำว่า pool
มันก็ยิ่งชวนสงสัยว่า เขาตั้งชื่อเมืองที่แปลว่า pool ของตับ จริงเหรอวะ
นักเขียนก็สืบไปสืบมาถึงบ้างอ้อว่า เอ้ยยย คำว่า liver ในสมัยก่อนมันแปลว่า
1 ชีวิต 2 ไขมัน 3 เหนียวหนืดจนเป็นโคลน
จากความหมายทั้ง 3 ความน่าจะเป็นมันเลยไปตกว่าเมื่อพันปีที่แล้ว
แถบนี้น่าจะเป็นบึง หรือ แอ่งใหญ่ที่มีน้ำเป็นโคลนตมซึ่งทำให้พื้นที่ถูกเรียกว่า liurpul ซึ่งมีความหมายว่า บึงที่มีโคลนตม จากนั้นเพี้ยนมาเป็น liverpool ละมั้ง
มาต่อกันที่ ที่มาของคำว่า The Kop
คือ สมัยก่อนมันมีสงครามกันชื่อว่า Boer War ในสงครามที่พยายามปลดแอกเมือง Ladysmith (Boer War ครั้งที่ 2)
คนเขาจำได้ว่าทหารอังกฤษนั้นแพ้ที่ Spionkop เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเนินที่ขุดหลุมมาสู้มันสูงสุดแล้ว
แต่พอพระอาทิตย์ขึ้นหมอกจางลงถึงพบว่า มันมีที่สูงกว่าซึ่งพอสู้แบบนั้นก็แน่นอนแพ้สิครับ > สูงกว่าได้เปรียบ
ตัดภาพกลับมาในยุคสมัยที่แข่งขันกีฬา ตั๋วราคาถูกมันจะอยู่โซนบนๆ
บางคนก็ปีนมาดูประมาณว่าจะดูฟรี จากปรากฎการณ์นี้ ในตอนแข่งที่สนาม liverpool
นักข่าวคนนึงเขาเอา 2 เรื่องนี้มารวมกันแล้วเขียนข่าวไปด้วยรูปที่มี caption ว่า Spionkop at Anfield
เนื่องจากว่าเขารู้สึกมันมีความฮึกเหิม และ ความกดดัน อย่างมากจากคนในโซนด้านบน
เหมือนตอนสงคราม Spionkop แน่นอนมันมีคนก้อบ แต่ในระยะหลังก็หายไป เพราะ คนแรกมันขลังกว่า จากนั้นด้วยกาลเวลาน่าจะย่อนเหลือแค่คำว่า kop > แล้วใส่ the ไปเป็นอันจบ
ถ้ามีโอกาสแนะนำให้อ่านเลยครับ จะทำให้เราสนุกกับการเรียนรู้ โดยเฉพาะ ภาษามากขึ้นแน่นอนที่สำคัญผมว่ามันเปิดมุมมองให้เราได้ดีมากๆ เลย
เฉลย
> magazine ในตอนนั้นก็ใช้ในบริบทกองทัพน่ะแหละ แต่ในสมัยก่อนมันไม่มีหนังสือ หรือ นิตยาสารอะไรเลย เลยมีคนหัวใสเอามาเป็นชื่อว่า
Gentleman’s Magazine > แปลประมาณว่า คลังแสงของสุภาพบุรุษ เพราะ ในสมัยก่อนนิตยสารจะมีเนื้อหาค่อนข้างครอบจักรวาล ก็น่ะสมัยนั้นไม่มีอินเตอร์เน็ต นิ ด้วยความทเอาไปใช้แบบนี้คนเลยจำและนำไปใช้กันต่ออย่างแพร่หลายนั่นเอง
>General ที่จริงก็แปลว่าทั่วไปน่ะแหละ ในสมัยก่อนเขาเรียกกันว่า Captain General เพราะ ไม่อยากเฉพาะเจาะจงว่าเป็น captain ของทีมไหนเป็นพิเศษ น่าจะอยากให้กว้างๆ ซึ่งจากนั้นก็ย่อคำลงเอา captain ออก ปัจจุบันเลยเหลือแค่ General
>Corn Beef ในสมัยก่อนคำว่า Corn ไม่ได้แปลว่าข้าวโพด แต่จะหมายถึงอะไรที่มันเล็กๆ ดังนั้นถ้าเอาตามความหมายแบบนี้จะได้ว่า เนื้อชิ้นเล็กๆ และ นี่ก็เป็นที่มาที่ไปแบบสั้นๆ ว่าทำไม corn beef ถึงไม่มีข้าวโพด !!!
ถ้าอ่านรีวิวแล้ว เกิดอยากอ่านกัน ก็คิดว่ารีวิวนี้ ประสบความสำเร็จละ
แต่อยาก go beyond ไปกว่านั้นหน่อยว่า ถ้าอ่านจบแล้วมาแชร์กันหน่อยคับ
ว่าได้อะไรกันมาบ้าง ชอบตรงไหน ประทับใจยังไง นะๆๆ